เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Porntip srikaew [nuy] ID 5411204398 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

สัปดาห์ที่ 12

วันที่  27- 28 สิงหาคม 2556



การศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและ
 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 27 สิงหาคม 2556การศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ภาพกิจกรรม
การจัดสภาพแวดล้อมภายใน
สรุปเป็นองค์ความรู้ ดังนี้
ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน
มุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด จัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการผ่านกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตทักษะกระบวนการคิดสร้างจิตสำนึกในการทำประโยชน์ต่อสังคม  พึ่งตนเองได้ เป็นคนดีมีปัญญา มีความเป็นไทยคู่กับความเป็นสากล 
การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย
จัดการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.๒๕๔๖ อยู่บนพื้นฐานบริบทของชุมชน สังคม และท้องถิ่นรอบตัวเด็ก โดยการเตรียมความพร้อมให้เด็กมีพัฒนาการครบทุกด้าน ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ด้วยการบูรณาการการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม และนำนวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย ใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนาให้เต็มศักยภาพของเด็กแต่ละคน โดยการจัดการเรียนรู้ใช้กระบวนการคิดและกิจกรรมเป็นฐาน (Thinking and Activity Based Learning) เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่กล่าวว่า  “ความรู้คู่คุณธรรม นำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
กิจกรรมเสริมหลักสูตร 
คอมพิวเตอร์  นักเรียนได้เรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์ และสร้างสรรค์ผลงานโดยการฝึกปฏิบัติจริงในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน
ดนตรี  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนกล้าแสดงออก มีสุนทรียภาพทางอารมณ์ตามลักษณะที่พึงประสงค์  ตลอดจนเห็นคุณค่าของการเล่นดนตรี
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ภาคฤดูร้อน (Summer camp) เช่นการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดย ทักษะการสังเกต ทักษะจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา และทักษะการคำนวณ

วันที่ 28  สิงหาคม  2556  ศึกษาดูงานโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์
ภาพกิจกรรม

เก็บตกภาพกิจกรรม
สรุปเป็นองค์ความรู้ได้ดังนี้
ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงานโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา หรือ "โรงเรียนนอกกะลา" เป็นโรงเรียนเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรในสังกัดของ กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา โดยการ ได้เปิดทำการเรียนการ สอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 จำนวน 3 ชั้นเรียน ได้แก่ ชั้นอนุบาล 1 ชั้นอนุบาล 2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้คัดเลือกเด็กจากเด็กทั่วไปโดยวิธีจับฉลาก นักเรียนที่เข้าเรียนไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ข้อพิจารณาที่สำคัญคือ ผู้ปกครองต้องพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับโรงเรียนฯ ในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ
นายเจมส์ คลาร์ก   เป็นผู้สนับสนุนในเรื่องการลงทุนก่อสร้างโรงเรียน และสิ่งสนับสนุนทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว เป็นจำนวนเงินประมาณ 52.5 ล้านบาท 
ผู้บริหารโรงเรียน   วิเชียร ไชยบัง (ผู้อำนวยการโรงเรียน)
ปรัชญาของโรงเรียน  "การศึกษาพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ " ( Education for complete human development)
วิสัยทัศน์ของโรงเรียน
ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข เต็มศักยภาพ เป็นคนดีและคนเก่ง สอดคล้องกับวิถีชีวิตและกลมกลืนกับวิทยาการสมัยใหม่ สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พร้อมด้วยคุณธรรม ภูมิปัญญา และสำนึกในความเป็นพลเมืองดี 
หลักสูตร
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจัดการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดย PBL(Problem based Learning) 
ซึ่งเป็นวัตกรรมหนึ่งในการพัฒนา ความฉลาดภายนอก (ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์) และกระบวนการพัฒนาทั้งครูและเด็กให้เกิดการเรียนรู้และงอกงามด้านใน หรือ ความฉลาดด้านจิตวิญญาณ ปัญญาภายใน หรือ  ความฉลาดด้านใน หมายถึง ความฉลาดทางด้านจิตวิญญาณ SQ และความฉลาดทางด้านอารมณ์ EQ ซึ่งได้แก่ การรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง (รู้ตัว) และผู้อื่น การเห็นคุณค่าในตัวเอง คนอื่น และสิ่งต่างๆ เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายและมีความหมาย
สิ่งที่แตกต่างจากโรงเรียนทั่วๆไป
แนวการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาที่สอนเด็กปฐมวัย โดยไม่มีการสอนวิทยาศาสตร์แต่จะเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน เช่นระบบนิเวศ ซึ่งจะบูรณาการเข้าไปในรายวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์และโครงการ  ให้นักเรียนได้ลงมือกระทำจริงโดยไม่สอนทฤษฏี แต่จะให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองแล้วนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน   และชั้นอนุบาลและประถมศึกษาออกแบบการเรียนที่ใช้มาตรฐานตัวชี้วัดพัฒนาทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ซึ่งการเรียนรู้แบบบูรณาการในแต่ละหน่วยแบบ PBL มีทั้งหมด 4 หน่วย
- ตัวเรา
- สถานที่
- สิ่งแวดล้อม
- ธรรมชาติ

สัปดาห์ที่ 11

วันที่ 21 สิงหาคม 2556



หมายเหตุ  : ไม่มีการเรียนการสอน  งานที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์นี้ มี 2 กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมแรก   ให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อ 3 สื่อ สื่อของเล่น สื่อเข้ามุม และสื่อการทดลอง บันทึกลงบล็อกให้เรียบร้อย
กิจกรรมที่สอง การประดิษฐ์ว่าวจากใบไม้แห้งที่ทับไว้ในสมุด นำมาทดลองทำว่าวดังนี้

ใบไม้แห้ง
ประดิษฐ์เป็นว่าวใบไม้
วิธีการขึ้นว่าว
    หากว่าเล่นเพียงคนเดียวให้เอาวางราบอยู่กับพื้น หันหัวว่าวมาทางหัวคนชักว่าว ระยะห่างจากตัวสัก 2-3 เซนติเมตร แล้ววิ่งพร้อมกระตุกสายป่านโดยการรักษาจังหวะการกระตุก ไม่แรงเกินไปเพื่อให้ว่าวสามารถปรับตัวเข้ากระแสลม
    หากเล่นกัน 2 คน  ให้อีกคนหนึ่งเป็นคนส่งว่าว อีกคนหนึ่งก็เป็นคนชักว่าวโดยคนส่งว่าวควรห่างจากคนชักว่าวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ตั้งหัวว่าวขึ้นเพื่อรอจังหวะของกระแสลมแล้วจึงส่งว่าวไป คนชักว่าวจะกระตุกสายป่านจนว่าวลอยขึ้นแล้วก็ควบคุมโดยการกระตุกสายป่านให้เป็นถูกจังหวะ การบังคับว่าวหากว่าแรงที่เรากระตุกสายป่านมีมากจะทำให้ว่าวขึ้นได้สูงตามแรงที่เรากระตุก และหากต้องการผ่อนลงมาให้ว่าวอยู่ในระดับที่ต่ำก็ควรลดแรงลงมาเล็กน้อย
ลมที่เหมาะสมที่สุดที่ใช้เล่นว่าว
ความเร็วลม(กม./ชม.)
สิ่งที่สังเกต
การเล่นว่าว
2-5
ควันเปลี่ยนทิศทาง
ลมเบาไป
6-11
ใบไม้ไหว
เหมาะสม
12-19
ใบไม้ไหว
เหมาะสม
20-29
ฝุ่นคลุ้ง
เหมาะสม
30-39
กิ่งไม้เล็กๆไหว
ลมแรงไป
สิ่งที่ต้องระวังอย่างหนึ่งคือกระแสลมแปรปรวน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อลมพัดผ่านสิ่งกีดขวาง จะพบว่าจะเป็นการยากมากที่จะเล่นว่าวในกระแสลมที่แปรปรวน
กฏง่ายๆ คือ ระยะทางที่ลมเกิดการแปรปรวน มีค่าประมาณ 7 เท่า ของความสูงของวัตถุที่ลมเคลื่อนผ่าน ดั้งนั้น หากต้องการหลีกเลี่ยงกระแสลมแปรปรวน  เมื่ออยู่หน้าแนวต้นไม้สูง 10 เมตร ก็ต้องอยู่หน้าแนวต้นไม้ห่างออกไปอย่างน้อย 70 เมตร เป็นต้น   ระยะเวลาเล่นว่าว  การเล่นว่าวสามารถเล่นได้ทุกเวลาตลอดทั้งปี  แต่เวลาที่นิยมเล่นว่าวมากที่สุดคือหน้าร้อน ราวเดือน มีนาคม ถึง เมษายน ที่มีลมตะวันตกเฉียงใต้ จากทะเลพัดสู่ผืนแผ่นดินใหญ่ เรียกว่าลมตะเภา หรือ “ลมว่าว” ซึ่งช่วยในการเล่นว่าวได้ดีที่สุด  
หมายเหตุ : กระแสลมแปรปรวน คือ ลมที่พัดแบบไร้ทิศทาง 
การทดลองการขึ้นของว่าวใบไม้

สัปดาห์ที่ 10

วันที่ 14 สิงหาคม 2556



การเรียน
     อาจารย์ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการไปศึกษาดูงาน ในวันอังคารที่ 27 – 28 สิงหาคม 2556 ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและรงเรียนลำปายมาศพัฒนาบุรีรัมย์  แล้วร่วมกันวางแผนนำเสนอเป็น  Mind mapping ดังนี้
องค์ความรู้ที่ได้รับ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สรุปได้ดังนี้
การสังเกต  เป็นข้อมูลที่ได้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือตา หู จมูก ลิ้น ในการสังเกตวัตถุนั้น ๆ 
การตั้งสมมุติฐาน   เป็นความชำนาญในการทำนายผลหรือคาดเดาเหตุการณ์หรือคิดคำตอบล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยการสังเกต ความรู้และประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐานสมมุติฐานหรือคำตอบที่คาดคะเนไว้ล่วงหน้านี้ จะต้องเป็นสิ่งที่ยังไม่ทราบหรือไม่เคยเห็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ยังไม่เป็นหลักการ หรือทฤษฎีมาก่อน สมมติฐานเป็นเครื่องกำหนดแนวทางในการออกแบบการทดลอง
การทดลอง    เป็นความชำนาญในการจัดกระบวนการปฏิบัติกับตัวแปรต่างๆเพื่อทดสอบสมมติฐานที่เกิดขึ้น  การทดลองประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
1. การออกแบบการทดลอง การออกแบบการทดลองจะต้องสัมพันธ์กับสมมติฐานที่ต้องการจะตรวจสอบ ในการออกแบบจะต้องกำหนดสิ่งต่อไปนี้
      -    วิธีทดลอง ต้องระบุตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม และเขียนวิธีการทดลองตามลำดับขั้นตอนปฏิบัติก่อนหลัง
      -    วิธีวัดหรือสังเกตการณ์ทดลองรวมถึงระยะเวลาที่ทดลอง
      -    ออกแบบบันทึกผลการทดลองให้สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการทดลอง
      -    อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
2. การปฏิบัติการทดลอง ปฏิบัติการทดลองจริงตามที่กำหนดไว้ในวิธีทดลอง
3. การบันทึกผลการทดลอง บันทึกผลการทดลองตามแบบบันทึกที่ได้ออกแบบไว้แล้ว
หมายเหตุ  
  • ให้นักศึกษาแก้ไขบล็อกที่อาจารย์ได้แนะนำ
  • ให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อโดยมี  สื่อของเล่น  ทำการทดลอง  และประดิษฐ์สื่อเข้ามุม  นำลงบล็อกให้เรียบร้อย
  • ให้นักศึกษาประดิษฐ์ว่าวจากใบไม้แห้ง ที่อาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมไว้สัปดาห์ที่ผ่านมา  จากนั่นบันทึกลงบล็อก

สัปดาห์ที่ 9

วันที่  7 สิงหาคม  2556  



โครงการที่ 22
โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (ภาคปกติ)
กิจกรรม 3 ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  โครงการ..กายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย   
วันพุธทิ่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556 เวลา 08.00 16.30 น. ณ ห้องประชุม 2 คณะศึกษาศาสตร์
อาจารย์ณุตรา  กล่าวเปิดงาน

การแสดงเซิ้งกระติ๊บ (ของเพื่อนๆ)
การแสดงระบำสีวิชัย (ของเพื่อนๆ)
สาธิตมารยาทในการไหว้ตามแบบต่างๆ
รุ่นพี่ปี 4 สาธิตมารยาทในการไหว้ตามแบบต่างๆ
          การไหว้ เป้นการแสดงความเคราพ โดยการประนมมือแล้วยกมือทั้งสองขึ้นจรดใบหน้าให้เห็นว่าเป็นการแสดงความเคราพอย่างสูง การไหว้แบบไทยมี 3 แบบตามระดับของบุคคล
ระดับที่ 1   การไหว้พระ
ระดับที่ 2   การไหว้ผู้มีพระคุณและอาวุโส
ระดับที่  3  การไหว้บุคคลทั่วๆ ไป
องค์ความรู้ที่ได้รับ
·       การฝึกมารยาทการเข้าสังคม
·       การแสดงความเคารพด้วยการไหว้
·      มารยาทในการเคลื่อนไหว เช่นการเดิน  หรือมารยาทเฉพาะด้าน เช่น การยืนในท่าที่สุภาพ การยืนเคราพธงชาติ
·       มารยาททางวาจา การพูดจาที่สุภาพ อ่อนหวาน การกล่าวคำขอบคุณเมื่อได้รับความช่วยเหลือ  ไม่ส่งเสียงดังก่อความรำคาญ  ไม่พูดจาโอ้อวดตนเอง ใช้สำเนียงการพูดที่นุ่มนวลเป็นกันเอง ฝึกใช้คำราชาศัพท์และใช้เมื่อโอกาสเหมาะสม