เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Porntip srikaew [nuy] ID 5411204398 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.
การส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับนักสำรวจน้อย
 : การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

โดยรองศาสตราจารย์ ดร.นภเนตร ธรรมบวร อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ
จากหนังสือ ๗๐ปีโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ
       
     เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า วัย 8-9 ขวบ เป็นวัยของความอยากรู้อยากเห็นเด็กวัยนี้มักแอบสำรวจตรวจสอบสิ่งต่างๆ รอบตนเองอยู่เสมอๆ โดยเด็กๆ ไม่รู้เลยว่าสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่นั้นเป็นกระบวนการหนึ่งในการสืบค้นหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจเป็นคุณสมบัติที่เด็กเกือบทุกคนมีอยู่ในตนเอง เพียงแต่บางครั้งการแสดงออกซึ่งความอยากรู้อยากเห็นอาจยังไม่เหมาะสมจึงทำให้ผู้ใหญ่มองข้ามหรือละเลยไปได้ ยิ่งกว่านั้น เราก็คงจำเป็นต้องยอมรับว่า ความสามารถในการสำรวจเก็บรวมรวม และสื่อสารข้อมูลที่มีความละเอียดเป็นระบบ และถูกต้องนั้นเป็นทักษะที่คนไทยเราขาดความชำนาญ และขาดการฝึกฝนตั้งแต่ในวัยเด็ก ทำให้เรามักมีปัญหาในการบอกทิศทางเวลาที่คนถามทางกันเสมอๆ  เรามักพบว่าไม่สามารถบอกทิศทางที่มีความเข้าใจตรงกันได้อย่างถูกต้อง หรือเมื่อยามต้องถ่ายทอด หรือเล่าราละเอียดของสิ่งที่ไปพบประสบพบเห็นมา ก็มักมีปัญหาในการสื่อสารให้ผู้ฟังเกิดจินตนาการที่เข้าใจตรงกันได้ 
      จะเห็นได้ว่าทักษะในการสำรวจ เก็บรวบรวม และสื่อสารข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ นอกจากนั้น การสำรวจในบางครั้งอาจส่งผลให้ผู้สำรวจเกิดปัญหาหรือข้อสงสัยอันอาจนำไปสู่การตั้งคำถามในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ แต่ใครจะเชื่อบ้างว่า เพียงแค่ดอกไม้ไม่กี่ดอกในแจกันจะส่งผลให้เด็กๆ กลายเป็นนักสำรวจน้อยไปได้   ซึ่งคุณสมบัติสำคัญที่นักสำรวจน้อยแต่ละคนจำเป็นต้องมีเพื่อให้การสำรวจบรรลุวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายได้ คือ การใช้ประสาทสัมผัสของตนเองให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเด็กกลุ่มหนึ่งจะต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ที่ตนมีในการสำรวจดอกไม้ในแจกันอย่างละเอียดละออ เก็บรวบรวมและนำข้อมูลที่ตนสำรวจได้ไปสื่อสารให้เพื่อนเข้าใจ ขณะที่ จิตรกรผู้รับอาสาวาดภาพดอกไม้ที่ตนไม่มีโอกาสสัมผัสด้วยตาของตนเองก็จำเป็นต้องใช้ทักษะการฟัง การจินตนาการ และความสามารถทางศิลปะเพื่อสื่อให้ภาพที่ออกมานั้นเหมือน หรือใกล้เคียงของจริงให้มากที่สุด   การวาดภาพดอกไม้แจกันของเด็กๆ นั่นซึ่งเด็กมีทักษะในการสำรวจผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การใช้ความจำเป็นในการเก็บรวบรวมข้อมูลและทักษะในการสื่อสารข้อมูลดีเยี่ยม มีการนำทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น การชั่ง ตวง วัด มาประยุกต์ใช้ในการเก็บรวบรวม และสื่อสารข้อมูลทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เข้าใจตรงกัน จึงทำให้ภาพดอกไม้ที่ออกมามีลักษณะเหมือนจริงค่อนข้างมาก
       การฝึกให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้และสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว การเก็บรวบรวมข้อมูล และการนำข้อมูลที่ได้ไปสื่อสารนั้น ถือเป็นทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญมาก คุณพ่อคุณแม่สามารถจัดกิจกรรมง่ายๆ ที่บ้านด้วยตนเอง เพื่อฝึกให้ลูกได้ใช้ประสาทสัมผัสได้เช่นกัน โดยอาจเริ่มต้นจากการชี้ชวนให้ลูกสังเกตธรรมชาติรอบตัว เช่น ต้นไม้ ดอกไม้ และแมลงต่างๆ ในขั้นนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจกระตุ้นให้ลูกวาดภาพของสิ่งที่สังเกตเห็นควบคู่ไปด้วย และมีการพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดของสิ่งที่ลูกสังเกตและภาพที่ลูกวาดว่า ลูกสังเกตเห็นอะไรบ้าง มีสีอะไร มีขนาดเท่าไร เมื่อลูกมีความคุ้นเคยและชำนาญมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ก็อาจเล่นเกมกับลูกโดยอาจให้ลูกเป็นคนสังเกตและนำข้อมูลมาสื่อสารให้คุณพ่อหรือคุณแม่วาดภาพ หรืออาจสลับบทบาทกันก็ได้
สรุป : การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
      การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่ใช่การศึกษาแบบแยกส่วนอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ แต่เป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างวิทยาศาสตร์และศิลปะ เป็นศาสตร์ของการเชื่อมโยงผสมผสานระหว่างสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและความงดงามในธรรมชาติเข้าด้วยกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาเจตคติในทางบวกต่อการดำเนินชีวิตของเด็กต่อไปในอนาคต

สัปดาห์ที่ 8

วันที่ 31 กรกฏาคม 2556



การเรียน
หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นสัปดาห์แห่งการสอบกลางภาค  ภาคเรียนที่ 12556
ปฏิทินการสอบกลางภาค

สัปดาห์ที่ 7

วันที่  24  กรกฏาคม 2556



การเรียน
ทบทวนความรู้เดิมจากเนื้อหาของกระบวนการวิทยาศาสตร์ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
องค์ความรู้ที่ได้รับ
สมองกับวิทยาศาสตร์
อาจารย์อธิบายการเรียนการสอนแบบ Project Approach
การสอนแบบ Project Approach
         การเรียนการสอนแบบโครงการ  (  Project  Approach  )  ได้นำแนวคิดของ  John  Dewey  มาประยุกต์เป็นรูปแบบการเรียนการสอน  โดยมีหลักสำคัญคือ  การพัฒนาเด็ก สามารถทำได้ด้วยการให้เด็กเป็นผู้รู้จักแสวงหาความรู้  ความร่วมมือและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  เพื่อค้นคว้าหาคำตอบในเรื่องที่ตนเองสนใจ  เด็กสามารถสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ในตัวเด็กเอง
        โครงการ คือ การสืบค้นหาข้อมูลอย่างลุ่มลึก  ตามหัวข้อเรื่องที่เด็กสนใจ  เน้นให้เด็กกระทำอาจเป็นรายบุคคลหรือรายุล่มก็ได้  โครงการนั้นจะต้องประกอบด้วยทฤษฏีและหลักการ  มีการดำเนินงานเป็นขั้นๆ โดยใช้วิชาหลายๆที่เกี่ยวข้องมาบรูณาการ  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้  ระยะเวลาทำโครงการขึ้นอยู่กับเรื่องที่เด็กสนใจ  
โครงการ (Project  Approach) ของการสอนความรู้อย่างลุ่มลึกมี  ลักษณะ ดังนี้
ลักษณะที่ การอภิปราย
ลักษณะที่ 2  การนำเสนอประสบการณ์เดิม เช่น ความรู้เก่าที่เด็กเคยพบเจอแล้วคุณครูจัดประสบการณ์ใหม่เพิ่มเติม
ลักษณะที่ 3  การนำเสนอภาคสนาม เช่นการศึกษาจากแหล่งเรียนรู้จริง  การพาเด็กไปศึกษาที่ซุปเปอร์มาร์เก็ต เรื่องเห็ดที่เรียนในห้องเรียน
ลักษณะที่ 4   การสืบค้น
ลักษณะที่ การจัดแสดง คือ การนำเสนอผลงาน เช่น การใช้ภาษา การจัดประสบการณ์จากง่ายไปยาก
สรุปองค์ความรู้ของการสอนแบบ Project Approach
      การสอนแบบโครงการ เป็นการสอนวิธีหนึ่งในหลายๆวิธีที่มีอยู่ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ช่วยบูรณการความรู้ ทักษะ และนำเสนออย่างเป็นทางการในห้องเรียน เด็กได้ประยุกต์และใช้สิ่งที่ตนเรียนรู้ แก้ปัญหา และเปลี่ยนสิ่งที่ทราบ พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นและท้าทายให้เด็กคิด เป็นการสนับสนุนพัฒนาการเด็กทางด้านสมอง เด็กมักจะมีคำถามของตนเองและสนใจที่จะเรียนรู้ใช้แหล่งข้อมูลต่างๆ รวมทั้งตัวครูในการหาคำตอบ ครูควรจะรับฟังสิ่งที่เด็กพูดและสิ่งที่เด็กถามอย่างจริงใจ ผลสำเร็จของการทำโครงการจึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิม สิ่งแวดล้อม ความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นของเด็กเป็นอย่างมาก การสอนแบบโครงการน่าจะเป็นหนทางหนึ่งสำหรับครูที่จะสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้อย่างกระตือรือร้นอย่างมีความหมายต่อเด็ก และนำครูไปสู่การสอนที่มีประสิทธิภาพได้ทางหนึ่ง
ประโยชน์ที่เด็กได้รับจากการสอนแบบโครงการ
1. ช่วยให้เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ทักษะที่มีอยู่ และเพิ่มความชำนาญในทักษะนั้นยิ่งขึ้น
2. แสดงให้เห็นถึงความสามารถและความถนัดของเด็ก
3. แสดงให้เห็นแรงจูงใจภายใน และความสนใจที่เกิดจากตัวเด็กในงานและกิจกรรมที่ทำ
4. ส่งเสริมให้เด็กรู้จักตัดสินใจว่าควรทำอะไร และผู้ใหญ่ยอมรับในความต้องการของเด็กโดยที่เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ และเด็กเป็นผู้ตัดสินใจลงมือทำด้วยตัวเด็กเอง
* ที่มา : การเรียนรู้แนวใหม่ Project Approachดร.วรนาท รักสกุลไทย

สัปดาห์ที่ 6

วันที่ 17 กรกฎาคม 2556

สื่อของเล่น ( ล. ลิงไต่ราว )
( ล. ลิงไต่ราว )
อุปกรณ์
วาดรูปลิงใส่กระดาษแข็ง  แล้วระบายสีให้สวยงามตัดรูปลิงที่เราวาด
ตัดหลอดติดไว้ข้างหลังรูปลิง โดยติดเป็นแนวรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
สอดเชือกเข้าไปในหลอดดูดน้ำ แล้วผูกเชือกเป็นปม
ดึงเชือกสลับขึ้นไปมา เพื่อให้ลิงเลื่อนขึ้น (เสร็จเรียบร้อย)
สื่อของเล่น ( ล. ลิงไต่ราว )
อุปกรณ์
กระดาษแข็ง
เชือก
หลอดดูดน้ำ
กาวหรือเทปใส
สีไม้หรือสีเทียน
ขั้นตอนการประดิษฐ์
  • วาดรูปลิงใส่กระดาษแข็ง  แล้วระบายสีให้สวยงามตัดรูปลิงที่เราวาด
  • ตัดหลอดที่เราเตรียมไว้ ซึ่งเวลาเราตัดเราจะต้องตัดให้มีความยาวเท่ากับตัวลิงที่เราวาดเพื่อให้เกิดความสมดุล
  • ตัดหลอดไว้ข้างหลังรูปลิง โดยติดเป็นแนวรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
  • สอดเชือกเข้าไปในหลอดดูดน้ำ แล้วผูกเชือกเป็นปม
วิธีเล่น
ดึงเชือกสลับขึ้นไปมา เพื่อให้ลิงเลื่อนขึ้นไปข้างบน เล่นได้ 1 คน
ล .ลิงไต่ราว  (หลักการที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์)
แรงดึง (Tension)
แรง (force) หมายถึง สิ่งที่สามารถทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่หรือทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นหรือช้าลง หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุได้ 
แรงดึง คือ แรงที่เกิดจากการเกร็งตัวเพื่อต่อต้านแรงกระทำของวัตถุ เป็นแรงที่เกิดในวัตถุที่ลักษณะยาวๆ เช่น เส้นเชือก เส้นลวด
ประโยชน์ที่ได้รับ
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการเรียนและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ การสนับสนุนความอยากรู้ของเด็ก เพิ่มความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นในการทำงานร่วมกัน เพื่อหาคำตอบจากคำถามทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดความรู้ และทักษะต่างๆ 

การทดลอง ไข่ลอย ไข่จม
วิธีทดลอง
วัสดุอุปกรณ์
ใส่เกลือลงไปในบีกเกอร์เดิมประมาณ 5 ช้อนใช้แท่งแก้วคนจนเกลือละลายหมด
 
นำไข่ไก่สดใส่ลงไปในน้ำประปา (วางเบาๆ)
นำไข่ไก่สดใส่ลงไปน้ำเกลือ
สังเกตผล
วัสดุอุปกรณ์
1. เกลือ
2. ไข่ไก่สด
3. บีกเกอร์ขนาด 500 cm3
4. น้ำประปา
5. ช้อนตักสาร
6. แท่งแก้วคนสาร
วิธีทดลอง
1.เทน้ำประปาใส่ลงในบีกเกอร์ประมาณครึ่งบีกเกอร์ นำไข่ไก่สดใส่ลงไป (วางเบาๆ) และสังเกตผลจากนั้นนำไข่ไก่ออก
2.ใส่เกลือลงไปในบีกเกอร์เดิมประมาณ 5 ช้อน ใช้แท่งแก้วคนจนเกลือละลายหมด นำไข่ไก่ใบเดิมใส่ลงไป และสังเกตผล
ผลการทดลอง (หลักการทางวิทยาศาสตร์)
จะพบว่า เมื่อนำไข่ไก่สดใส่ลงในน้ำประปาธรรมดา น้ำหนักของไข่ไก่จะดึงไข่ไก่ให้จมลงสู่ก้นบีกเกอร์ เนื่องจากความหนาแน่นของไข่ไก่มากกว่าความหนาแน่นของน้ำ น้ำจึงไม่สามารถพยุงไข่ไก่ให้ลอยขึ้นได้ แต่เมื่อใส่เกลือลงในน้ำประปาจำนวน 5 ช้อน ไข่ไก่สดใบเดิมจะลอยสูงจากก้นบีกเกอร์ ประมาณ 8 cm จากระดับน้ำสูง cm เนื่องจากน้ำเกลือมีความเข้มข้นมากกว่า หรืออีกนัยหนึ่งคือ มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำประปาธรรมดา ไข่ไก่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำเกลือจึงสามารถลอยขึ้นได้ หากนำผลการทดลองและความรู้จากการทดลองนี้ มาใช้ในชีวิตประจำวัน เราอาจกล่าวได้ว่า การหัดว่ายน้ำในทะเล น่าจะสามารถพยุงตัวได้ดีกว่าว่ายน้ำในแม่น้ำ เนื่องจากน้ำทะเลมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำในแม่น้อย
ประโยชน์ที่ได้รับ
การกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้น คือการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง และทักษะเบื้องต้นที่เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 กระบวนการ  คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา และทักษะการคำนวณ 

สื่อเข้ามุมกังหันลม จากกล่องนม
ขั้นตอนการทำกังหันลม
อุปกรณ์การประดิษฐ์
ตัดกระดาษแข็งเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดสัก 20*3 cm 2 ชิ้น ระบายสีตามใจชอบ
นำมาวางทับกันเป็นเครื่องหมายบวก แล้วติดเทปให้แน่น
เจาะกล่องนมให้ทะลุตรงกลาง แล้วนำหลอดทานตะวันมาเสียบเข้าไป
 ตัดหลอดทานตะวันด้านปลายให้เป็น 4 แฉก นำไปติดด้านหลังกังหัน (
ตกแต่งตามใจชอบค่ะ
อุปกรณ์การประดิษฐ์
1. กล่องนมทรงสูง (กล่อง 1 ลิตร)
2. กระดาษแข็ง + กระดาษสี ตามใจชอบ
3. กาว (กรณีไม่อยากเหนียวเหนอะหนะ ใช้สก๊อตเทปก็ได้ค่ะ)
4. หลอดทานตะวัน (หลอดที่งอได้น่ะคะ เอาแบบแข็ง ๆ นิดนึงจะได้ทนมือเด็ก ๆ)
5. กรรไกร + คัตเตอร์ + สีเมจิกสำหรับระบาย
ขั้นตอนการทำกังหันลม
1. ตัดกระดาษแข็งเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดสัก 20*3 cm 2 ชิ้น ระบายสีตามใจชอบ
2. นำมาวางทับกันเป็นเครื่องหมายบวก แล้วติดเทปให้แน่น
3. เจาะกล่องนมให้ทะลุตรงกลาง แล้วนำหลอดทานตะวันมาเสียบเข้าไปให้ตรงส่วนงอๆเป็นที่จับหมุน
4. ตัดหลอดทานตะวันด้านปลาย (ด้านที่ยาว) ให้เป็น 4 แฉก ยาวพอประมาณ นำไปติดด้านหลังกังหัน (ใช้สก๊อตเทปจะติดง่าย+แน่นดีค่ะ)
5. ตกแต่งตามใจชอบค่ะ
วิธีเล่น
เวลาเล่นก็หมุน ๆ หลอดด้านหลังให้กังหันหมุน ๆ ไปเรื่อย ๆ ค่ะ เล่นเป็นพัดลมเย็นสบาย .... กังหันลมจากกล่องนม ... เล่านิทานประกอบก็สนุกไปอีกแบบค่ะ
กังหันลม (หลักการที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์)
เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เปลี่ยนพลังงานจลน์ของกระแสลมเป็นพลังงานกลจากนั้น จึงนำพลังงานกลมาใช้ประโยชน์กล่าว คือ เมื่อกระแสลมพัดผ่านใบกังหันจะเกิดการถ่ายทอด พลังงานจลน์ไปสู่ใบกังหันทำให้กังหันหมุนรอบแกนที่เชื่อมต่อกับระบบกลไกแม่เหล็กไฟฟ้าที่ มีขดลวดเหนี่ยวนำและแม่เหล็กทำให้เกิดกระแส ไฟฟ้าที่เรานำไปใช้ประโยชน์ได้
ประโยชน์ที่ได้รับ
กิจกรรม “สนุก กับ กังหัน ลม” ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนในด้านการออกแบบและ เทคโนโลยีรวมถึงวิทยาศาสตร์และ ช่วย ให้ผู้ เรียนรู้จักการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนและฝึก ทักษะการทำงานกลุ่ม ครูผู้สอนสามารถนำกิจกรรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนทั้งในวิชาการออกแบบและเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์หรือจะทำเป็นโครงงานบูรณาการก็ได้นอกจากนี้ยัง เป็นการสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในเรื่องพลังงานหมุนเวียนรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ พลังงาน ลม ซึ่งถือ เป็นพลังงานทางเลือกที่สะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนักถึงภาวะโลกร้อน 
อ้างอิงจาก: นิตยสาร สสวท.

สัปดาห์ที่ 5

วันที่ 10 กรกฎาคม 2556



การเรียน
อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนนำเสนองาน “ของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย” 
ผลงานของเพื่อนๆทุกคน
ของเล่นวิทยาศาสตร์
อาจารย์แนะนำ : ให้เราเสริมหลักการว่า ของเล่นที่เราคิดมีหลักการที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
หลักการที่เกี่ยวกับของ เล่น ลลิงไต่ราว หน่วยของแรง  
แรง ในทางฟิสิกส์ คือ การกระทำจากภายนอกที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบทางกายภาพ โดยแรงเป็นผลมาจากการใช้พลังงาน เช่น คนที่จูงสุนัขอยู่ด้วยเชือกล่าม ก็จะได้รับแรงจากเชือกที่มือ ซึ่งทำให้เกิดแรงดึงไปข้างหน้า ถ้าแรงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางจลนศาสตร์ตามกฎข้อที่สองของนิวตันคือ เกิดความเร่ง ถ้าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางจลนศาสตร์ก็อาจก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ได้เช่นกัน
ผลจากแรงเมื่อแรงถูกกระทำกับวัตถุหนึ่ง วัตถุนั้นสามารถได้รับผลกระทบ 4 ประเภท ดังนี้
  •            วัตถุที่อยู่นิ่งอาจเริ่มเคลื่อนที่
  •            ความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่อยู่เปลี่ยนแปลงไป
  •         ทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุอาจเปลี่ยนแปลงไป
  •         รูปร่าง ขนาดของวัตถุอาจเปลี่ยนแปลงไป
     วิสัชนา ป้อมเสมา,โครงการเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ (LESA). 2554. กฎของนิวตัน (Newton’s laws). (ออนไลน์).
     จากนั่นอาจารย์ก็ให้ดูรูปภาพเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังรูป
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (การทดลองของเด็ก) ในหน่วยของน้ำ
เด็กๆ ได้วาดภาพตามจินตนาการโดยใช้น้ำแข็งสี เพื่อดูการเปลี่ยนสถานะของแข็งเปลี่ยนเป็นของเหลว
ทดลองการต้มน้ำ น้ำเปลี่ยนสถานะเป็นไอ สังเกตไอน้ำจากกาต้มน้ำ
เด็กๆ สนุกกับการเรียนรู้ว่าวัสดุใดที่ใช้กันฝนโดยทดลองฉีดน้ำให้เป็นฝอย
หมายเหตุ : อาจารย์ให้นักศึกษาคิดการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยนำเสนองานเดียวแบบเดิม
การทดลอง ไข่ลอย ไข่จม