เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Porntip srikaew [nuy] ID 5411204398 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

สัปดาห์ที่ 3

วันที่ 26 มิถุนายน 2556


  การเรียน
สรุปองค์ความรู้จากการดู VCD เรื่อง "ความลับของแสง"
 แสง  คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave) ประเภทหนึ่ง ซึ่งอยู่ในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรด (Infrared) ถึงรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) ด้วย  
ความถี่ของคลื่นแสงที่แตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับความเร็วในการสั่นสะเทือน ความถี่ของคลื่นแสงที่แตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับความเร็วในการสั่นสะเทือน ถ้าหากคลื่นแสงยิ่งมีความสั่นสะเทือนมากก็จะยิ่งมีความถี่มากแต่ความยาวคลื่นก็จะยิ่งน้อย โดยแสงที่เรามองเห็นได้นั้นเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ในระดับที่ดวงตาของมนุษย์สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปกติแล้วแสงจะเคลื่อนที่ในสุญญากาศด้วยความเร็ว 299,792,458 เมตรต่อวินาที
จำแนกวัตถุตามการส่องผ่านของแสงได้ดังนี้
 .      วัตถุโปร่งใส คือวัตถุที่ยอมให้แสงส่องทะลุผ่านได้โดยง่าย
 ·      วัตถุโปร่งแสง คือวัตถุที่ยอมให้แสงผ่านไปได้เพียงบางส่วน
 .       วัตถุทึบแสง คือวัตถุที่ไม่ยอมให้แสงผ่านไปได้เลย
สมบัติพื้นฐานของแสงได้แก่
.      ความเข้ม (ความสว่างหรือแอมพลิจูด) ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปความสว่างของแสง
·      ความถี่ (หรือความยาวคลื่น) ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปสีของแสง
.      โพลาไรเซชัน (มุมการสั่นของคลื่น) ซึ่งโดยปกติมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้
"แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง" ที่มีความเร็วมากและเคลื่อนที่เร็ว แสงช่วยในการมองเห็นของเราได้ก็คือ การที่แสงได้ส่องมายังโดนวัตถุจากนั้นแสงจะสะท้อนวัตถุมาผ่านตาจึงทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้  คุณสมบัติของแสง
           1. การเดินทางป็นเส้นตรง คือการที่แสงเดินทางผ่านวัตถุเป็นเส้นตรงอย่างเดียว ไม่มีการหักเหไปทางอื่น ดังรูปภาพ
2. การสะท้อนของแสง คือ การที่แสงไปกระทบกับตัวกลางแล้วไปในทิศทางอื่นหรือสะท้อนกลับมาทิศทางเดิมการสะท้อนของแสงนั้นขึ้นอยู่กับพื้นผิวของวัตถุ ดังรูปภาพ
3. การหักเหของแสงคือ การที่แสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง ทำให้แนวลำแสงเกิดการเบี่ยงเบนไปจากแนวเดิม ดังรูปภาพ
4. การกระจายของแสง คือ การที่แสงหักเหผ่านผิวละอองน้ำทำให้แสงสีต่างๆออกจากกันแล้วเกิดการสะท้อนกลับลงมาที่ผิวด้านหลัง  ดังรูปภาพ
วัตถุของแสง
วัตถุของแสงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ วัตถุทึบแสง วัตถุโปร่งแสง วัตถุโปร่งใส
-         วัตถุทึบแสง    คือการที่วัตถุที่ผ่านเข้าตาโดยที่แสงไม่สามรถผ่านเข้ามาได้
-          วัตถุโปร่งแสง คือการแสงทะลุออกจากบางส่วนท่านั้น
-          วัตถุโปร่งใส   คือแสงที่ผ่านไปได้ท้งหมดทำให้เราเห็นวัตถุข้างหลังได้
 ปรากฏการณ์ที่เกิดรุ้งกินน้ำ
คือ เกิดจากการหักเหของแสงเมื่อสีทั้ง 7 รวมกันจะเป็นสีขาว ได้แก่ ม่วง ขียว แดง คราม เหลือง แสด และน้ำเงิน  ดังรูปภาพ
  จากนั่นร่วมกันสรุป Concept Mapping ของวิทยาสตร์สำหับเด็กปฐมวัย  ดังรูปภาพดังนี้
หมายเหตุ : งานที่มอบหมายให้นักศึกษารับผิดชอบ ไปศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสื่ออุปกรณ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมาคนละหนึ่งชิ้น 

สัปดาห์ที่ 2

วันที่ 19  มิถุนายน 2556



    การเรียน
    อาจารย์แจกใบความรู้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 6 คน และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อดังต่อไปนี้
                 1.) ความหมายของวิทยาศาสตร์
                 2.) ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
                 3.) พัฒนาการทางสติปัญญา  (*หัวข้อที่ได้รับมอบหมาย)
                 4.) การเรียนรู้
                 5.) แนวความคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
                 6.) กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
    ให้นักศึกษาทุกกลุ่มร่วมกันปรึกษาหารือกันภายในกลุ่ม  พร้อมกับสรุป
แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนกลุ่มอื่นตามหัวข้อที่กำหนด
สรุปภายในกลุ่ม สรุปเป็น Concept Mapping
ส่งตัวแทนออกไปนำเสนองาน

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วิทยาศาสตร์ คือ การศึกษาธรรมชาติของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราซึ่งอาศัยกระบวนการ
ค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั้นตอนเป็นระเบียบแบบแผนตั้งแต่สมัยโบราณมนุษย์พยายามเรียนรู้ทำ
ความเข้าใจและอธิบายธรรมชาติของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราอันได้แก่พฤติกรรมการเปลี่ยน
แปลง และปรากฏการณ์ต่างๆจนนำไปสู่การกำหนดหลักการกฎเกณฑ์และทฤษฏีอันเป็น
รากฐานของการศึกษาค้นคว้าแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัยมีความสำคัญหลายประการดังนี้
ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น(คือเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้)
ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก
ยอมรับรูปแบบการเรียนรู้จากวัสดุอุปกรณ์ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่เป็นธรรมชาติของเด็ก
ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฎ เช่น การแสดงความกังวลใจ
กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ อยากสืบค้นต่อไป
ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ 
 (อ้างอิงจาก : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ)


สัปดาห์ที่ 1

วันที่ 12 มิถุนายน 2556





1.) อาจารย์ชี้แจงแนวปฏิบัติตามแนวการสอนและการจัดประสบการณ์ 
2.)  อาจารย์และนักศึกษาร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็นต่อแนวทางในการปฏิบัติตามแนวการสอนตลอดจนข้อสงสัยต่างๆ 
3.) อาจารย์ได้อธิบายวิธีการสร้างบล็อกเพื่อเป็นแฟ้มสะสมงานอิเลคทรอนิคส์เพื่อ เป็นการประเมินในรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งการสร้างบล็อกมีองค์ประกอบดังนี้
         3.1)  ชื่อและคำอธิบายบล็อก
         3.2) รูปและข้อมูลผู้เรียน
         3.3)  ปฏิทินและนาฬิกา
         3.4) เชื่อมโยง บล็อกอาจารย์ผู้สอนหน่วยงานสนับสนุน,แนวการสอนงานวิจัยด้านวิทยาสตร์บทความสื่อ(เพลง,เกม,นิทาน,แบบฝึกหัด,ของเล่น)
4.) แนวการเขียนอนุทินเพื่อบันทึกหลังเรียน