วันที่ 21 สิงหาคม 2556
หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน งานที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์นี้ มี 2 กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่สอง การประดิษฐ์ว่าวจากใบไม้แห้งที่ทับไว้ในสมุด นำมาทดลองทำว่าวดังนี้
ใบไม้แห้ง
ประดิษฐ์เป็นว่าวใบไม้
วิธีการขึ้นว่าว
หากว่าเล่นเพียงคนเดียวให้เอาวางราบอยู่กับพื้น
หันหัวว่าวมาทางหัวคนชักว่าว ระยะห่างจากตัวสัก 2-3 เซนติเมตร
แล้ววิ่งพร้อมกระตุกสายป่านโดยการรักษาจังหวะการกระตุก
ไม่แรงเกินไปเพื่อให้ว่าวสามารถปรับตัวเข้ากระแสลม
หากเล่นกัน 2 คน ให้อีกคนหนึ่งเป็นคนส่งว่าว
อีกคนหนึ่งก็เป็นคนชักว่าวโดยคนส่งว่าวควรห่างจากคนชักว่าวประมาณ 4-5 เซนติเมตร
ตั้งหัวว่าวขึ้นเพื่อรอจังหวะของกระแสลมแล้วจึงส่งว่าวไป
คนชักว่าวจะกระตุกสายป่านจนว่าวลอยขึ้นแล้วก็ควบคุมโดยการกระตุกสายป่านให้เป็นถูกจังหวะ
การบังคับว่าวหากว่าแรงที่เรากระตุกสายป่านมีมากจะทำให้ว่าวขึ้นได้สูงตามแรงที่เรากระตุก
และหากต้องการผ่อนลงมาให้ว่าวอยู่ในระดับที่ต่ำก็ควรลดแรงลงมาเล็กน้อย
ลมที่เหมาะสมที่สุดที่ใช้เล่นว่าว
ความเร็วลม(กม./ชม.)
|
สิ่งที่สังเกต
|
การเล่นว่าว
|
2-5
|
ควันเปลี่ยนทิศทาง
|
ลมเบาไป
|
6-11
|
ใบไม้ไหว
|
เหมาะสม
|
12-19
|
ใบไม้ไหว
|
เหมาะสม
|
20-29
|
ฝุ่นคลุ้ง
|
เหมาะสม
|
30-39
|
กิ่งไม้เล็กๆไหว
|
ลมแรงไป
|
สิ่งที่ต้องระวังอย่างหนึ่งคือกระแสลมแปรปรวน
ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อลมพัดผ่านสิ่งกีดขวาง
จะพบว่าจะเป็นการยากมากที่จะเล่นว่าวในกระแสลมที่แปรปรวน
กฏง่ายๆ
คือ ระยะทางที่ลมเกิดการแปรปรวน มีค่าประมาณ 7 เท่า
ของความสูงของวัตถุที่ลมเคลื่อนผ่าน ดั้งนั้น หากต้องการหลีกเลี่ยงกระแสลมแปรปรวน เมื่ออยู่หน้าแนวต้นไม้สูง
10 เมตร ก็ต้องอยู่หน้าแนวต้นไม้ห่างออกไปอย่างน้อย 70 เมตร เป็นต้น ระยะเวลาเล่นว่าว การเล่นว่าวสามารถเล่นได้ทุกเวลาตลอดทั้งปี
แต่เวลาที่นิยมเล่นว่าวมากที่สุดคือหน้าร้อน ราวเดือน มีนาคม ถึง
เมษายน ที่มีลมตะวันตกเฉียงใต้ จากทะเลพัดสู่ผืนแผ่นดินใหญ่ เรียกว่าลมตะเภา หรือ “ลมว่าว” ซึ่งช่วยในการเล่นว่าวได้ดีที่สุด
หมายเหตุ : กระแสลมแปรปรวน คือ
ลมที่พัดแบบไร้ทิศทาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น