เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Porntip srikaew [nuy] ID 5411204398 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

เรียนชดเชยครั้งที่ 2

วันที่ 30 กันยายน 2556


การเรียน
อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนนำเสนอการทดลองทางวิทยาศาสตร์   ในการสอนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนักศึกษาจะมีวิธีการสอนเด็กอย่างไร  ซึ่งดิฉันนำเสนอวิธีการสอน 
การทดลองไข่ลอย  ไข่จม ดังนี้
ภาพกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์
วิธีการสอน
ในการทดลองนี้ครูเตรียมขวดน้ำตัดปากขวดออกจำนวน 2 ขวด ไข่ไก่จำนวน 2 ฟอง รวมถึงเกลือประมาณ 5 ช้อนโต๊ะ ในครั้งนี้ครูก็สอนในเรื่องการนับจำนวน ปริมาตรน้ำที่เท่ากันในแต่ละขวด เราจะทดสอบนำไข่ไก่หย่อนลงไปในโหลที่บรรจุน้ำ และให้ทายว่าไข่จะลอยหรือจม เด็กส่วนมากก็จะตอบว่าจม ซึ่งก็พบว่าไข่จมจริง ๆ ครูก็ได้อธิบายให้เด็กฟังว่า เพราะไข่สดมีความหนาแน่นที่มากกว่าน้ำ ไข่จึงจม ครูก็อธิบายเพิ่มเติมว่าโดยปกติแล้ววัตถุต่าง ๆ ที่ลอยในน้ำได้ จะต้องมีความหนาแน่นที่น้อยกว่าน้ำเสมอ หลังจากนั้นครูก็บอกกับเด็ก ๆ ว่าสามารถทำให้ไข่สดลอยน้ำได้โดยการเติมเกลือลงไปในน้ำ โดยเกลือจะทำให้น้ำมีความหนาแน่นมากกว่าไข่สด ไข่จึงลอยได้ เด็ก ๆ ให้ความสนใจและตื่นเต้นมากในการทดลองครั้งนี้ของครู
สรุปผลการทดลองไข่ลอย ไข่จม ดังนี้
จะพบว่า เมื่อนำไข่ไก่สดใส่ลงในน้ำประปาธรรมดา น้ำหนักของไข่ไก่จะดึงไข่ไก่ให้จมลงสู่ก้นขวดน้ำ เนื่องจากความหนาแน่นของไข่ไก่มากกว่าความหนาแน่นของน้ำ น้ำจึงไม่สามารถพยุงไข่ไก่ให้ลอยขึ้นได้ แต่เมื่อใส่เกลือลงในน้ำประปาจำนวน 5 ช้อน ไข่ไก่สดใบเดิมจะลอยขึ้น เนื่องจากน้ำเกลือมีความเข้มข้นมากกว่า หรืออีกนัยหนึ่งคือ มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำประปาธรรมดา ไข่ไก่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำเกลือจึงสามารถลอยขึ้นได้  หากนำผลการทดลองและความรู้จากการทดลองนี้ มาใช้ในชีวิตประจำวัน เราอาจกล่าวได้ว่า การหัดว่ายน้ำในทะเล น่าจะสามารถพยุงตัวได้ดีกว่าว่ายน้ำในแม่น้ำ เนื่องจากน้ำทะเลมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำในแม่น้ำ 
ประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้
  • การฝึกทักษะการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก 
  • การนำเสนอหน้าชั้นเรียนและการฝึกทักษะการพูด
  • ฝึกทักษะการจัดประสบการณ์การสอนเด็กที่จะนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนที่ใช้ในการประกอบวิชาชีพในอนาคต

สรุปองค์ความรู้จากทีวีครู

ของเล่นและของใช้

   


ของสุวรรณา ชโลวัฒนะ        
โรงเรียนบ้านเหมืองแร่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สอนเด็กปฐมวัยโดยยึดหลักกระบวนการให้นักเรียนได้จดจำ และสังเกตแยกแยะของเล่น ของใช้ที่มีประโยชน์ผ่านการเคลื่อนไหวทางร่างกาย และการสัมผัส ทำให้นักเรียนเข้าใจและจดจำนำไปใช้ที่บ้านได้การจัดประสบการณ์โดยการนำวัสดุอุปกรณ์ของเล่นของใช้ที่เป็นของจริงมาเป็นสื่อ เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีคุณค่าที่สามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้จากของจริงเด็กได้สัมผัสจริงได้เห็นของจริงเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้สังเกต รู้จัก แยกแยะ เปรียบเทียบรวมทั้งทำให้เด็กได้จดจำสิ่งต่างๆเด็กจะได้จำสิ่งต่างๆนำไปใช้เชื่อมโยงกับการใช้ในชีวิตประจำวันรวมทั้งทำให้เด็กมีความสุขและสนุกกับการเรียนปนเล่นและทั้งยังสามารถเอื้อต่อการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆได้เป็นอย่างดี
การประยุกต์ใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงจากชีวิตประจำวันของคุณครูในเรื่องการรู้จักแยกแยะ จำแนกของเล่นของใช้ จากการได้เล่นและหลังจากการเล่นเด็ก ๆ ควรต้องจัดเก็บให้เป็นที่ และเป็นหมวดหมู่ ถูกตามประเภท ซึ่งจากตรงนี้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง การเปรียบเทียบรวมทั้งการฝึกให้เด็กเกิดความสังเกตและการจดจำ ซึ่งกิจกรรมที่ครูจัดเด็กจะเกิดความสนุกสนานและฝังใจในสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ด้วย การดึงกิจกรรมในชีวิตประจำวันมาดึงเข้ากับบทเรียนทำให้เด็กได้เห็นภาพและจดจำได้เป็นอย่างดี ซึ่งมาจากประสบการณ์เดิมของเด็กเอง ครูช่วยเสริมและช่วยในการให้เด็กได้รู้จักการจำแนกเปรียบเทียบจัดหมวดหมู่สิ่งต่าง ๆ ได้ ซึ่งการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่จัดให้เด็กควรมีความสมดุล ทั้งนี้เพราะเด็กต้องการประสบการณ์ในทุกสาขาของวิทยาศาสตร์ เพื่อจะได้พัฒนาในทุกๆด้าน และครูก็ควรจัดประสบการณ์หรือแนะนำให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์ด้านอื่น ๆ เพราะกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจวิทยาศาสตร์ พัฒนาเป็นกระบวนการเรียนรู้ เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดความเข้าใจในวิทยาศาสตร์มากขึ้น 


 

สรุปองค์ความรู้จากบทความ

การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง  ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้ ด้วยเหตุนี้การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องเริ่มจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  การสังเกต  การค้นคว้าหาคำตอบ การให้เหตุผล ตามด้วยการเรียนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ และความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยใช้ประสบการณ์จริงและการทดลองปฏิบัติ  การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน  รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์  สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น  4  หน่วย  ดังนี้ 
หน่วยที่  1     การสังเกตโลกรอบตัว
หน่วยที่  2     การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
หน่วยที่  3     รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
หน่วยที่  4     การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
ทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สรุปได้ดังนี้
เป้าหมายของการเรียนวิทยาศาสตร์
เด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์ในแง่ของทักษะพื้นฐาน  กระบวนการและสาระวิทยาศาสตร์เบื้องต้น  เป้าหมายสำคัญของการเรียน  คือ 
1.  ให้เด็กได้ค้นคว้าและสืบค้นสิ่งต่าง ๆ  และปรากฏการณ์ที่มี
2.  ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
3.  กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น  ความสนใจ  และเจตคติของเด็กด้วยการค้นให้พบ
4.  ช่วยให้เด็กค้นหาข้อมูลความรู้บางอย่างที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและการสืบค้นของตัวเด็ก
สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กต้องเรียน
สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยเรียนประกอบด้วยสาระต่าง ๆ  ที่เป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัว  ดังนี้
1.  สาระเกี่ยวกับพืช ได้แก่ พืช เรื่องที่นำมาเรียนได้แก่ ต้นไม้ ดอกไม้ ผลไม้ การปลูกพืช การใช้ประโยชน์จากพืช
2.  สาระเกี่ยวกับสัตว์  ได้แก่  ประเภทของสัตว์  สวนสัตว์  การเลี้ยงสัตว์
3.  สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์  เช่น  การจม  การลอย  ความร้อน  ความเย็น
4.  สาระเกี่ยวกับเคมี  ได้แก่  รสผลไม้  การละลายของน้ำแข็ง
5.  สาระเกี่ยวกับธรณีวิทยา  ได้แก่  ดิน  ทราย  หิน  ภูเขา
6.  สาระเกี่ยวกับดาราศาสตร์  ได้แก่  ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์  ดาว  ฤดูกาล
หลักการจัดกิจกรรม
ประสบการณ์วิทยาศาสตร์เป็นการสร้างเด็กให้เรียนรู้กระบวนการวิทยาศาสตร์และเนื้อหาที่เป็นวิทยาศาสตร์  หลักการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กที่สำคัญมีดังนี้  
1.  เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก  ประสบการณ์ที่เลือกมาจัดให้แก่เด็ก  ควรเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก  โดยใกล้ทั้งเวลา  เหมาะสมกับพัฒนาการ  ความสนใจและประสบการณ์ที่ผ่านมาของเด็ก
2.  เอื้ออำนวยให้แก่เด็กได้กระทำตามธรรมชาติของเด็ก  เด็กมีธรรมชาติที่ชอบสำรวจ  ตรวจค้น  กระฉับกระเฉง  หยิบโน่นจับนี่  จึงควรจัดประสบการณ์ที่ใช้ธรรมชาติในการแสวงหาความรู้
3.  เด็กต้องการและสนใจ  ประสบการณ์ที่จัดให้เด็กต้องสอดคล้องกับความต้องการของเด็กและอยู่ในความสนใจของเด็ก  ดังนั้นหากบังเอิญมีเหตุการณ์ที่เด็กสนใจเกิดขึ้นในชั้นเรียน  ครูควรถือโอกาสนำเหตุการณ์นั้นมาเป็นประโยชน์ในการจัดประสบการณ์ที่สัมพันธ์กันในทันที
4.  ไม่ซับซ้อน ประสบการณ์ที่จัดให้นั้นไม่ควรเป็นประสบการณ์ที่มีเนื้อหาซับซ้อน  แต่ควรเป็นประสบการณ์ที่มีเนื้อหาเป็นส่วนเล็ก ๆ และจัดให้เด็กทีละส่วน  
5.  สมดุล  ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่จัดให้เด็กควรมีความสมดุล ทั้งนี้เพราะเด็กต้องการประสบการณ์ในทุกสาขาของวิทยาศาสตร์ เพื่อจะได้พัฒนาในทุกๆด้าน ซึ่งแม้ว่าเด็กจะสนใจเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ได้แก่ พืชและสัตว์  ครูก็ควรจัดประสบการณ์หรือแนะนำให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์ด้านอื่น ๆ
กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจวิทยาศาสตร์ พัฒนาเป็นกระบวนการเรียนรู้ เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดความเข้าใจในวิทยาศาสตร์มากขึ้น หลักการจัดกิจกรรมมีอย่างน้อย 5 ประการดังนี้              
 1.  มีการกำหนดจุดประสงค์อย่างชัดเจน
 2.  ครูเป็นผู้กำกับให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
 3.  กิจกรรมที่จัดขึ้นสนองตอบความสนใจของเด็ก
 4.  สอดคล้องกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน
 5.  กิจกรรมที่จัดต้องส่งเสริมให้เด็กมีภาวะสร้างสรรค์และพัฒนาระบบการคิดของเด็ก
 แหล่งอ้างอิง : กุลยา  ตันติผลาชีวะ.  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.  กรุงเทพฯ : เบรน-เบส บุ๊คส์, 2551


สรุปงานวิจัย

การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
การเล่านิทานอีสปประกอบคำถาม

ของ ปริญญานิพนธ์ของชนาธิป บุบผามาศ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเล่านิทานอีสปประกอบคำถาม ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางสำหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย ในการพิจารณาเลือกกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาการคิดเชิงเหตุผล สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม ซึ่งลำดับขั้นตอนของการวิจัยและผลงานของการวิจัย โดยสรุปดังนี้
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การคิดเชิงเหตุผล เป็นการคิดที่ต้องอาศัยลักการหรือข้อเท็จจริงที่ถูกต้องมาสนับสนุนอย่างเพียงพอเป็นการคิดที่มีโอกาสผิดพลาดน้อยและถือว่าเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่พัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้นได้ผู้ที่มีทักษะในการคิดเชิงเหตุผลสูงย่อมมีความคิดที่มีคุณภาพสูง ซึ่งความคิดที่มีคุณภาพสูงนั้นจะช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งอันเป็นประโยชน์ให้แก่มนุษย์ได้นานัปการ
แบบทดสอบวัดการคิดเชิงเหตุผล 3 ชุด ดังนี้
1.  แบบทดสอบวัดการคิดเชิงเหตุผลด้านการเปรียบเทียบ จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นที่ .85
2.  แบบทดสอบวัดการคิดเชิงเหตุผลด้านการจัดประเภท จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นที่ .74
3.  แบบทดสอบวัดการคิดเชิงเหตุผลด้านการสรุปความ จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นที่ .82 รวมทั้งสิน จำนวน 45 ข้อ ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นและผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญนำแบบทดสอบวัดการคิดเชิงเหตุผลที่ได้ทำการวิเคราะห์คุณภาพเพื่อคัดเลือกข้อสอบที่มีคุณภาพโดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับที่ .86
แบบทดสอบวัดการคิดเชิงเหตุผล
สรุปผลการวิจัย
หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรม การเล่านิทานอีสปประกอบคำถาม เด็กปฐมวัยมีการคิดเชิงเหตุผลโดยรวมสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนในรายด้านเด็กปฐมวัยมีการคิดเชิงเหตุผลด้านการเปรียบเทียบและด้านการสรุปความสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านการจัดประเภทสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

สัปดาห์ที่ 16

วันที่ 15 กันยายน 2556


การเรียน
อาจารย์ให้นักศึกษาสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สรุปเป็น Mind Mapping ดังนี้
องค์ความรู้ที่ได้รับ
ประโยชน์จากการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
พัฒนาการทางปัญญาเป็นความสามารถทางสมองในการรวบรวมประสบการณ์และความรู้มาเป็นพื้นฐานของการคิดเหตุผลช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจสามารถแก้ปัญหาได้และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพความสามารถเหล่านี้สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางปัญญาการพัฒนาทางสติปัญญาไม่ใช่การเพิ่มระดับไอคิวแต่การพัฒนาทางสติปัญญาเน้นการเพิ่มพัฒนาการทางสติปัญญาใน  2  ประการ  คือ
1.  ศักยภาพทางปัญญา  คือ การสังเกต  การคิด  การแก้ปัญหา  การปรับตัว  และการใช้ภาษา
2.  พุทธิปัญญา  คือ  ความรู้ความเข้าใจที่ใช้เป็นพื้นฐานของการขยายความรู้  การคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์  และประเมินเพื่อการพัฒนาการรู้การเข้าใจที่สูงขึ้น


สัปดาห์ที่ 15

วันที่  18 กันยายน 2556


การเรียน
กิจกรรมนี้ต่อจากกิจกรรมสัปดาห์ที่เรียนชดเชยวันที่ 15 กันยายน 2556 ซึ่งได้นำแผนที่เราเขียนมาทำการสอนจริง โดยเราจะทำกิจกรรมการทำไข่ตุ๋นทรงเครื่อง ดังนี้
(ภาพกิจกรรมการทำไข่ตุ๋นทรงเครื่อง)
สรุปเป็นองค์ความรู้ได้ดังนี้
ความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมนี้
  • การลงมือปฏิบัติจริงจากการเขียนแผน
  • ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
  • รู้วิธีและเทคนิคการทำไข่ตุ๋น รวมทั้งประโยชน์ของไข่
  • รู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น สถานะของเหลว การตวง การนับจำนวน  เป็นต้น

เรียนชดเชย

วันที่  15  กันยายน  2556


การเรียน 
อาจารย์จ๋าเข้ามาชี้แจงรายละเอียดของบล็อก จากนั่น อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน สอน การทำ Cooking
กิจกรรมให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มล่ะ 7 คน ทำกิจกรรมเขียนแผนเกี่ยวกับอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย มีรายละเอียดดังนี้
แผ่นที่ 1  ให้ทำ Mind Mapping  เขียนการสอนทำอาหารเด็ก เช่น (อาหารว่าง  อาหารคาว อาหารหวาน  การถนอมอาหาร)
แผ่นที่ 2  ให้ทำ Mind Mapping  โดยเลือกอาหารจากแผ่นแรกที่เราคิดว่าเกี่ยวกับหลักการทางวิทยาศาสตร์มา  1 รายการ เช่น กลุ่มดิฉันเลือก อาหารเป็น ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง  ซึ่งเลือกเขียน (ประโยชน์ของไข่ตุ๋น วัตถุดิบ  อุปกรณ์การทำไข่ตุ๋น) เป็นต้น
แผ่นที่  3  ให้ทำ Mind Mapping   บอกวิธีการทำไข่ตุ๋น
แผ่นที่  4  ให้เขียนแผนการสอนเด็กปฐมวัยทำไข่ต๋น
จากนั้นอาจารย์ให้ทุกกลุ่มนำเสนอรายการอาหารของกลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ 1 เลือกการสอนเด็กประกอบอาหารเป็น ข้าวผัด USA
กลุ่มที่   เลือกการสอนเด็กประกอบอาหารเป็น  แกงจืด
กลุ่มที่   เลือกการสอนเด็กประกอบอาหารเป็น  ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง (ซึ่งเป็นกลุ่มของดิฉัน
กลุ่มที่   เลือกการสอนเด็กประกอบอาหารเป็น  ไข่เจียว
หลังจากนำเสนองานกลุ่มเสร็จอาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มช่วยกันเลือกเมนูอาหาร จากที่เพื่อนไปนำเสนอ มา 1 รายงาน เพื่อนๆก็ได้เลือกเมนู ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง เป็นเมนูที่จะประกอบเป็นอาหารสัปดาห์หน้า แล้วร่วมกันประชุมวางแผนเกี่ยวกับการทำไข่ตุ๋น ว่าใครรับผิดชอบหน้าที่อะไรบ้าง
เมนู : การประกอบอาหารสัปดาห์หน้า คือ ไข่ตุ๋น
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำงานกลุ่ม มีดังนี้
  • ช่วยให้การทำงานเป็นระบบที่ดี มีการแบ่งงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบทำให้งานบรรลุเป้าหมายตามที่กลุ่มและทีมงานรับผิดชอบ
  • ช่วยให้มีการนำหลักมนุษย์สัมพันธ์มาใช้ในกลุ่มและทีมงาน เช่น การรู้เรา รู้เขา เอาใจเขามาใส่ใจเรา งานของกลุ่มและทีมงานจะดำเนินไปด้วยดี 
  • ช่วยให้เกิดรู้รักสามัคคีระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม