วันที่ 27- 28 สิงหาคม 2556
การศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและ
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 27 สิงหาคม 2556การศึกษาดูงาน ณ
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ภาพกิจกรรม
การจัดสภาพแวดล้อมภายใน
สรุปเป็นองค์ความรู้ ดังนี้
ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน
มุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด จัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการผ่านกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตทักษะกระบวนการคิดสร้างจิตสำนึกในการทำประโยชน์ต่อสังคม
พึ่งตนเองได้ เป็นคนดีมีปัญญา มีความเป็นไทยคู่กับความเป็นสากล
การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย
จัดการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.๒๕๔๖ อยู่บนพื้นฐานบริบทของชุมชน สังคม
และท้องถิ่นรอบตัวเด็ก โดยการเตรียมความพร้อมให้เด็กมีพัฒนาการครบทุกด้าน
ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ด้วยการบูรณาการการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม และนำนวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย ใหม่ ๆ
มาใช้ในการพัฒนาให้เต็มศักยภาพของเด็กแต่ละคน
โดยการจัดการเรียนรู้ใช้กระบวนการคิดและกิจกรรมเป็นฐาน (Thinking and
Activity Based Learning) เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่กล่าวว่า “ความรู้คู่คุณธรรม นำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์”
กิจกรรมเสริมหลักสูตร
คอมพิวเตอร์ นักเรียนได้เรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์
และสร้างสรรค์ผลงานโดยการฝึกปฏิบัติจริงในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน
ดนตรี เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนกล้าแสดงออก
มีสุนทรียภาพทางอารมณ์ตามลักษณะที่พึงประสงค์ ตลอดจนเห็นคุณค่าของการเล่นดนตรี
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ภาคฤดูร้อน (Summer camp) เช่นการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดย ทักษะการสังเกต ทักษะจำแนกประเภท ทักษะการวัด
ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา
และทักษะการคำนวณ
วันที่ 28 สิงหาคม 2556
ศึกษาดูงานโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์
สรุปเป็นองค์ความรู้ได้ดังนี้
ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงานโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา หรือ "โรงเรียนนอกกะลา" เป็นโรงเรียนเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรในสังกัดของ
กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546
โดยมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา โดยการ ได้เปิดทำการเรียนการ สอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 จำนวน 3
ชั้นเรียน ได้แก่ ชั้นอนุบาล 1 ชั้นอนุบาล 2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้คัดเลือกเด็กจากเด็กทั่วไปโดยวิธีจับฉลาก
นักเรียนที่เข้าเรียนไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ข้อพิจารณาที่สำคัญคือ
ผู้ปกครองต้องพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับโรงเรียนฯ
ในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ
นายเจมส์ คลาร์ก เป็นผู้สนับสนุนในเรื่องการลงทุนก่อสร้างโรงเรียน
และสิ่งสนับสนุนทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว เป็นจำนวนเงินประมาณ 52.5 ล้านบาท
ผู้บริหารโรงเรียน วิเชียร ไชยบัง (ผู้อำนวยการโรงเรียน)
ปรัชญาของโรงเรียน "การศึกษาพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
" ( Education for complete human development)
วิสัยทัศน์ของโรงเรียน
“ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข
เต็มศักยภาพ เป็นคนดีและคนเก่ง สอดคล้องกับวิถีชีวิตและกลมกลืนกับวิทยาการสมัยใหม่
สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พร้อมด้วยคุณธรรม ภูมิปัญญา และสำนึกในความเป็นพลเมืองดี
หลักสูตร
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจัดการศึกษาตาม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดย PBL(Problem based Learning)
ซึ่งเป็นวัตกรรมหนึ่งในการพัฒนา ความฉลาดภายนอก (ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์) และกระบวนการพัฒนาทั้งครูและเด็กให้เกิดการเรียนรู้และงอกงามด้านใน หรือ ความฉลาดด้านจิตวิญญาณ ปัญญาภายใน หรือ ความฉลาดด้านใน หมายถึง ความฉลาดทางด้านจิตวิญญาณ SQ และความฉลาดทางด้านอารมณ์
EQ ซึ่งได้แก่ การรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง
(รู้ตัว) และผู้อื่น การเห็นคุณค่าในตัวเอง คนอื่น และสิ่งต่างๆ
เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายและมีความหมาย
สิ่งที่แตกต่างจากโรงเรียนทั่วๆไป
แนวการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาที่สอนเด็กปฐมวัย
โดยไม่มีการสอนวิทยาศาสตร์แต่จะเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน เช่นระบบนิเวศ
ซึ่งจะบูรณาการเข้าไปในรายวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์และโครงการ ให้นักเรียนได้ลงมือกระทำจริงโดยไม่สอนทฤษฏี
แต่จะให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองแล้วนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน และชั้นอนุบาลและประถมศึกษาออกแบบการเรียนที่ใช้มาตรฐานตัวชี้วัดพัฒนาทั้ง
4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม
และด้านสติปัญญา ซึ่งการเรียนรู้แบบบูรณาการในแต่ละหน่วยแบบ PBL มีทั้งหมด 4 หน่วย
- ตัวเรา
- สถานที่
- สิ่งแวดล้อม
- ธรรมชาติ