วันที่ 24 กรกฏาคม 2556
อาจารย์อธิบายการเรียนการสอนแบบ Project Approach
การสอนแบบ Project
Approach
การเรียนการสอนแบบโครงการ ( Project Approach ) ได้นำแนวคิดของ John Dewey มาประยุกต์เป็นรูปแบบการเรียนการสอน โดยมีหลักสำคัญคือ การพัฒนาเด็ก สามารถทำได้ด้วยการให้เด็กเป็นผู้รู้จักแสวงหาความรู้ ความร่วมมือและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อค้นคว้าหาคำตอบในเรื่องที่ตนเองสนใจ เด็กสามารถสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ในตัวเด็กเอง
โครงการ คือ การสืบค้นหาข้อมูลอย่างลุ่มลึก ตามหัวข้อเรื่องที่เด็กสนใจ เน้นให้เด็กกระทำอาจเป็นรายบุคคลหรือรายุล่มก็ได้ โครงการนั้นจะต้องประกอบด้วยทฤษฏีและหลักการ มีการดำเนินงานเป็นขั้นๆ โดยใช้วิชาหลายๆที่เกี่ยวข้องมาบรูณาการ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
ระยะเวลาทำโครงการขึ้นอยู่กับเรื่องที่เด็กสนใจ โครงการ (Project Approach) ของการสอนความรู้อย่างลุ่มลึกมี
ลักษณะที่ 1 การอภิปราย
ลักษณะที่ 2 การนำเสนอประสบการณ์เดิม
เช่น ความรู้เก่าที่เด็กเคยพบเจอแล้วคุณครูจัดประสบการณ์ใหม่เพิ่มเติม
ลักษณะที่ 3 การนำเสนอภาคสนาม
เช่นการศึกษาจากแหล่งเรียนรู้จริง การพาเด็กไปศึกษาที่ซุปเปอร์มาร์เก็ต เรื่องเห็ดที่เรียนในห้องเรียน
ลักษณะที่ 4 การสืบค้น
ลักษณะที่ 5 การจัดแสดง คือ
การนำเสนอผลงาน เช่น การใช้ภาษา
การจัดประสบการณ์จากง่ายไปยาก
สรุปองค์ความรู้ของการสอนแบบ Project Approach
การสอนแบบโครงการ
เป็นการสอนวิธีหนึ่งในหลายๆวิธีที่มีอยู่ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ช่วยบูรณการความรู้
ทักษะ และนำเสนออย่างเป็นทางการในห้องเรียน
เด็กได้ประยุกต์และใช้สิ่งที่ตนเรียนรู้ แก้ปัญหา และเปลี่ยนสิ่งที่ทราบ
พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นและท้าทายให้เด็กคิด
เป็นการสนับสนุนพัฒนาการเด็กทางด้านสมอง
เด็กมักจะมีคำถามของตนเองและสนใจที่จะเรียนรู้ใช้แหล่งข้อมูลต่างๆ
รวมทั้งตัวครูในการหาคำตอบ
ครูควรจะรับฟังสิ่งที่เด็กพูดและสิ่งที่เด็กถามอย่างจริงใจ ผลสำเร็จของการทำโครงการจึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิม
สิ่งแวดล้อม ความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นของเด็กเป็นอย่างมาก
การสอนแบบโครงการน่าจะเป็นหนทางหนึ่งสำหรับครูที่จะสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้อย่างกระตือรือร้นอย่างมีความหมายต่อเด็ก
และนำครูไปสู่การสอนที่มีประสิทธิภาพได้ทางหนึ่ง
ประโยชน์ที่เด็กได้รับจากการสอนแบบโครงการ
1.
ช่วยให้เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ทักษะที่มีอยู่ และเพิ่มความชำนาญในทักษะนั้นยิ่งขึ้น
2.
แสดงให้เห็นถึงความสามารถและความถนัดของเด็ก
3. แสดงให้เห็นแรงจูงใจภายใน
และความสนใจที่เกิดจากตัวเด็กในงานและกิจกรรมที่ทำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น