วันที่ 3 กรกฏาคม 2556
การเรียน
ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการประดิษฐ์สื่อ
โดยอาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น พับให้มีขนาดเท่ากันแปดช่องพร้อมกับตัด จากนั่นให้นักศึกษาทุกคนวาดรูปตามจินตนาการ
เช่น การวาดรูปแผ่นที่หนึ่งเราวาดเป็นรูปวงกลม แผ่นที่สองก็วาดต่อจากแผ่นที่หนึ่ง
ซึ่งในแผ่นแรกเราวาดวงกลมแล้วแผ่นที่สองเราก็ไปวาดต่อในแผ่นที่สอง โดยจะวาดแค่จุดเดียวเท่านั่น
ทำต่อไปจนเสร็จ (ของดิฉันวาดรูปปลาการ์ตูน) ดังรูปต่อไปนี้
เมื่อเราทำเสร็จแล้วให้เปิดหน้าแรกไปยังหน้าสุดท้ายอย่างรวดเร็วเราเรียกวิธีการนี้ว่า
ภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนไหวที่หยุดหรือสตอปชัน (Stop
motion)
หมายเหตุ : อาจารย์ให้การบ้านไปศึกษาว่าการที่เราเปิดดูอะไรเร็วๆทำไมจึงเกิดการเคลื่อนไหวหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นเรื่อยๆ ??
ค้นคว้า : สตอปโมชัน (Stop
motion) เป็นแอนิเมชันที่อะนิเมะเตอร์ต้องสร้างส่วน
ประกอบต่างๆ ของภาพขึ้นด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากการวาดบนแผ่นกระดาษ หรือแผ่นเซล
และยังต้องยอมเมื่อยมือ ขยับรูปร่างท่าทางของส่วนประกอบเหล่านั้นทีละนิดๆ
แล้วใช้กล้องถ่ายไว้ทีละเฟรมๆสต็อปโมชั่นมีเทคนิคทำได้หลากหลาย เช่น
เคลย์แอนิเมชัน คือแอนิเมชันที่ใช้หุ่นซึ่งทำจาก ดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือวัสดุใกล้เคียง
โดยใส่โครงลวดไว้ข้างในเพื่อให้ดัดท่าทางได้
คัตเอาต์แแอนิเมชัน สมัยก่อนแอนิเมชันแบบนี้ทำโดยใช้วัสดุ 2 มิติ (เช่น กระดาษ, ผ้า) ตัดเป็นรูปต่างๆ
และนำมาขยับเพื่อถ่ายเก็บไว้ทีละเฟรม
แต่ปัจจุบันใช้วิธีวาดหรือสแกนภาพเข้าไปขยับในคอมพิวเตอร์ได้เลย
กราฟิกแอนิเมชัน เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจไม่เบา เกิดจากการนำกล้องมาถ่ายภาพนิ่งต่างๆ
ที่เราเลือกไว้ (จะเป็นภาพจาก นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ก็ได้)
ทีละภาพ ทีละเฟรม แล้วนำมาตัดต่อเข้าด้วยกันเหมือนเทคนิคคอลลาจ โดยอาจใช้เทคนิคแแอนิเมชันแบบอื่นมาประกอบด้วยก็ได้
โมเดลแอนิเมชัน คือการทำตัวละครโมเดลขึ้นมาขยับ
แล้วซ้อนภาพเข้ากับฉากที่มีคนแสดงจริงและแบ็คกราวด์เหมือนจริง
แอนิเมชันที่เล่นกับวัตถุอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นของเล่น หุ่น ตุ๊กตา ตัวต่อเลโก้ ฯลฯ
อะไรก็ตามที่ไม่ใช่วัสดุซึ่งดัดแปลงรูปร่างหน้าตาได้แบบดินเหนียว
พิกซิลเลชั่น เป็นสต็อปโมชั่นที่ใช้คนจริงๆ
มาขยับท่าทางทีละนิดแล้วถ่ายไว้ทีละเฟรม
อาจารย์ให้ดู VDO เรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ สรุปองค์ความรู้เป็น Mind Mapping ดังนี้
อาจารย์ให้ดู VDO เรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ สรุปองค์ความรู้เป็น Mind Mapping ดังนี้
การบ้าน
: ให้นักศึกษาประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแบบง่ายๆที่เด็กสามารถประดิษฐ์ได้
พร้อมกับเขียนอธิบายแบบคร่าวๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น